วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal
<p><strong>เกี่ยวกับวารสาร</strong></p> <p> วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2547 เป็นวารสารราย 4 เดือน จัดพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการแก่สาธารณชน ในสาขาวิชาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ครุศาสตร์ บริหารธุรกิจ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ อาชญาวิทยา และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง) อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มพูนองค์ความรู้ ขยายประโยชน์ทางวิชาการ หรือนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวปฏิบัติในการสร้างสรรค์องค์กรและสังคม ทัศนะและข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน ทางกองบรรณาธิการเปิดเสรีในด้านความคิด และไม่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ Suan Dusit Graduate School Academic Journal</p>
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
th-TH
วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต
1686-0659
-
บทบรรณาธิการ
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1274
บทบรรณาธิการ บทบรรณาธิการ
##submission.copyrightStatement##
2022-09-03
2022-09-03
19 1
-
สารบัญ
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1838
<p>สารบัญ</p> <p>ปี 2566 ปีที่ 19 ฉบับที่ 1</p>
ยุทธภูมิ ภู่ไพบูลย์
##submission.copyrightStatement##
2023-01-17
2023-01-17
19 1
-
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1158
<p>งานวิจัยเรื่อง “การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1” ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้าง และหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านระหว่างก่อน และหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยดำเนินการศึกษาตามกระบวนการวิจัย และพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนล้อมแรดวิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง จำนวน 14 คน โดยเลือกการสุ่มตัวอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบความสามารถในการอ่านภาษาไทย พบว่า มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95 และมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.55-0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (T– test Dependent) ผลการวิจัย 1. กิจกรรม และแผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพบทเรียน(E<sub>1</sub>/E<sub>2</sub>) เท่ากับ 74.72/77.00 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยระหว่างก่อน และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านภาษาไทย หลังเรียน (X̅ = 76.64, S.D. = 8.68) สูงกว่าก่อนเรียน (X̅ =61.71, S.D. =11.64) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 7.16 , sig= 0.000)</p>
วรัญญา กาพย์ตุ้ม
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
##submission.copyrightStatement##
2022-12-29
2022-12-29
19 1
-
การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นทุนมนุษย์ด้านการแปรรูปข้าวอินทรีย์สำหรับนักเรียน โรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร โดยชุมชนมีส่วนร่วม
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1144
<p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นทุนมนุษย์ด้านการแปรรูปข้าวอินทรีย์สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร โดยชุมชนมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรท้องถิ่น ทุนมนุษย์ด้านการแปรรูปข้าวอินทรีย์ สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร โดยชุมชนมีส่วนร่วมใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปข้าวอินทรีย์ วิทยากรท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรท้องถิ่น กลุ่มที่ 2 ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู นักเรียน โรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร กลุ่มเป้าหมายได้มา โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความต้องการเกี่ยวกับหลักสูตร แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน และแบบประเมินความพึงพอใจ นำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์เชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) โรงเรียนมีหลักสูตรท้องถิ่นทุนมนุษย์ด้านการแปรรูปข้าวอินทรีย์สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร โดยชุมชนมีส่วนร่วม พบว่า หลักสูตรเป็นหลักสูตรที่นำทรัพยากรในท้องถิ่นมาทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มเกิดประโยชน์ต่อตนเอง และครอบครัว สามารถนำทรัพยากรไปใช้ประกอบอาชีพในอนาคตได้จริง และหลักสูตรมีความน่าสนใจมีสอดคล้องกับความต้องการ มีผลการประเมินความต้องการการพัฒนาหลักสูตร โดยรวมอยู่ในระดับ 4.79 อยู่ระดับมาก (2) การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นทุนมนุษย์ด้านการแปรรูปข้าวอินทรีย์สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนรังวิทยาคาร โดยชุมชนมีส่วนร่วมที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมานั้นมีประสิทธิผลเนื่องจากนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรท้องถิ่นเฉลี่ยโดยรวมในระดับมากที่สุด 4.62</p>
นางสมพิศ สีตะสุต
##submission.copyrightStatement##
2023-01-17
2023-01-17
19 1
-
การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการเปลี่ยนผ่านของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จากศูนย์การศึกษาพิเศษไปสู่โรงเรียนทั่วไป
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1110
<p>การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาในการเปลี่ยนผ่านของเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากศูนย์การศึกษาพิเศษไปสู่โรงเรียนทั่วไป 2. ศึกษาแนวทางของการเปลี่ยนผ่านของเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากศูนย์การศึกษาพิเศษไปสู่โรงเรียนทั่วไป การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การเก็บข้อมูล ผ่านการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม โดยทำการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงทำการสร้างข้อคำถาม โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาพิเศษ 2 ท่าน ในการพิจารณา และให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งประเด็นการสนทนากลุ่มเป็นคำถามปลายเปิด มี 3 ข้อหลัก ๆ คือ 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของในการเปลี่ยนผ่าน 2) ปัญหาในการส่งต่อ และหลังการส่งต่อ และ 3) แนวทางการพัฒนาระบบการส่งต่อให้มีประสิทธิภาพ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากแบบบันทึกการสนทนากลุ่มครูการศึกษาพิเศษ และนักสหวิชาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบการส่งต่อ โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวม 13 คน จากการศึกษา พบว่า ปัญหาการเปลี่ยนผ่านของเด็กที่มีความต้องการพิเศษจากศูนย์การศึกษาพิเศษไปสู่โรงเรียนทั่วไปนั้นมีระบบการส่งต่อระหว่างศูนย์การศึกษาพิเศษ และโรงเรียนเรียนในประเทศไทยแต่กลับไม่สามารถใช้ระบบดังกล่าวได้ตามที่วางแผนเอาไว้ ทำให้เด็กพิเศษไม่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บางรายมีพัฒนาการถดถอยจนต้องกลับมาฝึกที่ศูนย์การศึกษาพิเศษเหมือนเดิม ซึ่งจากข้อมูลการสัมภาษณ์พบว่า ทางแก้ปัญหานั้นควรเริ่มต้นที่ผู้บริหารของทั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ และโรงเรียนควรสื่อสารกัน และออกนโยบายการส่งต่อข้อมูลที่สอดคล้องอาจเน้นไปที่ขั้นตอนที่ไม่ต้องผ่านหลายขั้นตอนทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่ายและเร็วขึ้น เป็นประโยชน์ในส่งต่อ และการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษต่อไปในอนาคต</p>
ศิรธันย์ ชัยธรธนาวัฒน์
กนกพร วิบูลพัฒนะวงศ์
ประพิมพ์ใจ เปี่ยมคุ้ม
##submission.copyrightStatement##
2023-01-16
2023-01-16
19 1
-
การพัฒนา การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนแบบทีมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริม ความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1161
<p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้าง และหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนแบบทีมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนแบบทีมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยเปรียบเทียบความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษระหว่างก่อน และหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 23 คน โดยเลือกการสุ่มตัวอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนแบบทีมเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และแบบทดสอบความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า1. กิจกรรม และแผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพบทเรียน เท่ากับ 76.68/75.56 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถทางไวยากรณ์ระหว่างก่อน และหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถทางไวยากรณ์หลังเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p>
อภิญญา เรือนเครือ
วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล
##submission.copyrightStatement##
2023-01-25
2023-01-25
19 1
-
คุณลักษณะของกำลังแรงงานที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม 5 ประเภทหลักที่ต้องการ ในจังหวัดร้อยเอ็ดช่วงสถานการณ์โควิด-19
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1128
<p>การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของกำลังแรงงาน ในอุตสาหกรรม 5 ประเภทหลักในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อศึกษาความต้องการแรงงานที่พึงประสงค์ในอุตสาหกรรม 5 ประเภทหลักในจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง คือ ผู้เชี่ยวชาญ หรือเกี่ยวข้องกับการคัดสรรคัดเลือกพนักงานเข้ามาทำงาน จำนวน 9 ท่าน กลุ่มที่สอง คือ พนักงานจำนวน 8 ท่าน รวมทั้งสิ้น 17 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล การตรวจสอบคุณภาพของแบบสัมภาษณ์ โดยอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย โดยนำข้อมูลมาเรียบเรียง และจำแนกอย่างเป็นระบบจากนั้นนำมาตีความหมายเชื่อมโยงความสัมพันธ์ และสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะของกำลังงาน 1) มีความรับผิดชอบสูง 2) ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดี 3) มีความคิดสร้างสรรค์ 4) สื่อความได้ดี 5) มีใจรักที่จะทำงาน และต้องการประสบความสำเร็จ ส่วนความต้องการแรงงานที่ต้องการในอุตสาหกรรม 5 ประเภทหลักในจังหวัดร้อยเอ็ด ด้านความรู้ในวิชาชีพต้องการแรงงานที่เป็นผู้มีความรู้ และทำงานตามความชอบความถนัดเหมาะสมกับองค์ความรู้ ด้านทักษะในวิชาชีพต้องการทักษะแรงงานที่ตอบสนองกับความก้าวหน้า ของเทคโนโลยี ด้านคุณค่าวิชาชีพ ต้องการทักษะที่มีความภูมิใจในวิชาชีพ ด้านคุณลักษณะประจำตัวต้องการแรงงานที่ปฏิบัติงานด้วยงานซื่อสัตย์รักษาความลับในงานที่ปฏิบัติ มีความรับผิดชอบ มีทัศคติที่ดี ด้านแรงจูงใจ ต้องการแรงงานที่มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน รู้สึกภาคภูมิใจงานที่ทำ พอใจในเงินเดือน ค่าจ้าง สิทธิสวัสดิการ</p>
นงเยาว์ จะมะลี
วัลลภ พิริยวรรธนะ
##submission.copyrightStatement##
2023-02-01
2023-02-01
19 1
-
การเปรียบเทียบระหว่างอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์กับอัตราส่วนกำไรสุทธิและอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมในการทำนายอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของ ของบริษัทจดทะเบียนไทย
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1160
<p>งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ และมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระหว่างอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์กับอัตราส่วนกำไรสุทธิ และอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมในการทำนาย อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของของบริษัทจดทะเบียนไทย จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ประกอบด้วย 104 บริษัท โดยใช้ข้อมูลจากงบการเงิน 3 ปี และ 93 บริษัทโดยใช้ข้อมูลจากงบการเงิน 5 ปี ระยะเวลาที่ใช้ศึกษาของงานวิจัยนี้อยู่ในช่วงปี 2558 ถึง 2562 สถิติที่ใช้ประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง การแปลงข้อมูลด้วยวิธีลอการิทึม การถดถอยอย่างง่าย และการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนกำไรสุทธิ และอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวมสามารถทำนายอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของของบริษัทจดทะเบียนไทยได้ดีกว่าอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งผลจากงานวิจัยนี้ สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานเชิงวิชาการในการใช้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ และองค์ประกอบของอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ในฐานะตัวแปรทำนายอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของของบริษัทจดทะเบียนไทย</p>
สุเมธ ธุวดาราตระกูล
##submission.copyrightStatement##
2023-02-03
2023-02-03
19 1
-
การศึกษาต้นแบบการพัฒนากลยุทธ์การตลาดด้วยเนื้อหาเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจผลิตภัณฑ์จากกล้วย
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1431
<p>การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาต้นแบบและเสนอแนะแนวทางการพัฒนากลยุทธ์การตลาดด้วยเนื้อหาเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจผลิตภัณฑ์จากกล้วย โดยการวิจัยรูปแบบประสานวิธีทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ผ่านกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และภาคเอกชนที่มีประสบการณ์ด้านกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) กำหนดคุณสมบัติผู้ให้ความคิดเห็นที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป มีประสบการณ์ด้านการวิจัย และความเชี่ยวชาญในบริบทอย่างน้อย 7 ปี เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของต้นแบบ ในรูปแบบลิเคิร์ทสเกล 5 ระดับ เมื่อได้เครื่องมือแล้วนั้น จากนั้นนำมาทดสอบค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อเปรียบเทียบผลความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของต้นแบบที่พัฒนา ซึ่งจากการวิจัย พบว่า อันดับแรกคือ ปัจจัยมิติด้านคุณภาพ รองลงมาคือ ปัจจัยมิติด้านคุณค่า <br> และสุดท้ายคือ ปัจจัยมิติด้านเนื้อหา ดังนั้น ต้นแบบกลยุทธ์การตลาดด้วยเนื้อหาเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจผลิตภัณฑ์จากกล้วย ที่พัฒนานั้นมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ทั้งในด้านแผนการดำเนินงาน วิธีการสื่อสาร เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ และการถ่ายโอนองค์ความรู้สู่ชุมชน ที่สามารถนำไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันในอนาคต</p>
รุ่งทิพย์ โคบาล
สุภษี ดวงใส
จินตนา พลศรี
ภัททิรา แก้วเกิด
นิกร กรรณิกากลาง
ณัฐรฐนนท์ กานต์รวีกุลธนา
##submission.copyrightStatement##
2023-02-03
2023-02-03
19 1
-
การวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1378
<p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคที่ใช้บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ให้บริการทางการเงินอยู่ในปัจจุบันและบริโภคผลิตภัณฑ์สีเขียวอย่างต่อเนื่องจำนวน 500 ตัวอย่างซึ่งถูกสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามออนไลน์ลักษณะคำถามแบบปลายปิด โดยมีการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ เพื่อระบุองค์ประกอบร่วม และจัดกลุ่มองค์ประกอบใหม่ ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนประกอบด้วย 4 ปัจจัย 8 กลุ่มองค์ประกอบ ดังนี้ ปัจจัยทัศนคติด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การมีส่วนร่วม และความรู้ความเข้าใจปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 3Es ของผลิตภัณฑ์สีเขียวประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การสร้างสาวก การตอบสนองในทุกที่ และการสร้างประสบการณ์ ปัจจัยคุณลักษณะนวัตกรรมการเงินสีเขียวประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ ได้แก่ การใช้งาน และประโยชน์เชิงเปรียบเทียบ และปัจจัยมาตรการจูงใจของภาครัฐที่มีมาตรการจูงใจเป็นเพียงองค์ประกอบเดียว</p>
สินธวัฒน์ สินธนบดี
อรพรรณ คงมาลัย
##submission.copyrightStatement##
2023-02-25
2023-02-25
19 1
-
ผลการจัดการเรียนการสอนแบบใช้เกม เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวชของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1167
<p>การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Design) ชนิด 2 กลุ่มวัดก่อน และหลังการทดลอง (The Two Group Pretest-posttest Design) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนการสอน โดยใช้เกมในหน่วยการเรียนเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็ก และวัยรุ่นของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังการเรียนการสอน โดยใช้การสอนแบบปกติในหน่วยการเรียนเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็ก และวัยรุ่นของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มควบคุม 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมในหน่วยการเรียนเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็ก และวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการสร้างเสริมสุขภาพจิต และการพยาบาลจิตเวช ปีการศึกษา 2564 จำนวน 87 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 44 คน และกลุ่มควบคุม 43 คน ซึ่งกลุ่มทดลองจะได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบใช้เกม และกลุ่มควบคุมจะได้รับการเรียนการสอนแบบปกติ (Active Learning) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบใช้เกม และแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test Dependent และ Independent t-test ผลการศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชเด็ก และวัยรุ่นของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบใช้เกม กลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบใช้เกม สูงกว่านักศึกษาพยาบาลกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p>
อันธิฌา สายบุญศรี
นางจิราพร เกษรสุวรรณ์
นางศิริพร นันทเสนีย์
อริยา ดีประเสริฐ
##submission.copyrightStatement##
2023-02-27
2023-02-27
19 1
-
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพยากรณ์ราคาสินค้าในห่วงโซ่อุปทานการผลิตเนื้อสุกร ในประเทศไทย
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1430
<p>งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพยากรณ์ราคาสินค้าในห่วงโซ่อุปทานการผลิตเนื้อสุกรในประเทศไทย และเพื่อศึกษาแนวทางในการพยากรณ์ราคาสินค้า ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ย้อนหลังจำนวน 10 ปี ช่วงปี พ.ศ. 2554 - 2564 จากเว็บไซต์เผยแพร่ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย และวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ราคาสุกรขุนมีชีวิต, ราคาน้ำมันดีเซลค้าปลีก และดัชนีราคาผู้บริโภค สามารถอธิบายราคาเฉลี่ยเนื้อสุกรได้ ร้อยละ 92.7 (2) ต้นทุนการผลิตสุกรขุนมีชีวิต ได้แก่ ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ และราคาลูกสุกร ส่งผลกระทบต่อราคาสุกรขุนมีชีวิต โดยสามารถอธิบายการผันแปรราคาได้ร้อยละ 80.3 ยกเว้นราคากากถั่วเหลือง และ (3) ปริมาณการนำเข้า และส่งออกสินค้าเกษตร รวมถึงราคาน้ำมันดีเซลค้าปลีกสามารถอธิบายราคาลูกสุกร, ราคาปลายข้าวซีวัน, ราคากากถั่วเหลือง, ราคาข้าวโพด และราคารำสกัดน้ำมันได้ร้อยละ 19.2, 31.5, 19.4, 21.2 และ 7.3 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าสมการการถดถอยเชิงพหุคูณ สามารถพยากรณ์ราคาได้ค่อนข้างแม่นยำเมื่อเทียบกับราคาที่เกิดขึ้นจริง ยกเว้นราคาลูกสุกร และราคาปลายข้าวซีวัน อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นที่เส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างราคา เช่น สภาพอากาศ, ภัยพิบัติ, อัตราการแลกเปลี่ยนเงิน รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม เพื่อประกอบการตัดสินใจและบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น</p>
พิมพ์ชนก เกียรติธีรชัย
อรพรรณ คงมาลัย
##submission.copyrightStatement##
2023-03-04
2023-03-04
19 1
-
ทำอย่างไรให้ธุรกิจการบินเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1028
<p>วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อที่จะศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากธุรกิจการบิน และแนวทางในการแก้ไขกับปัญหามลพิษที่เกิดจากจากธุรกิจการบิน ซึ่งธุรกิจการบินเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการคมนาคมที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองให้มีความก้าวหน้าและเจริญเติบโต เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชากรในประเทศนั้น อีกทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศอีกด้วย การขนส่งทางอากาศถือเป็นการขนส่งที่สะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยมากกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งมีอากาศยานเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้เป็นพาหนะในการขนส่งผู้โดยสาร หรือขนส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ตราบถึงทุกวันนี้อากาศยานโดยสารยังคงต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศในปริมาณสูง ซึ่งกลายเป็นมลภาวะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดสภาวะอากาศแปรปรวน ทำให้คุณภาพอากาศเปลี่ยนไป ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนัก และเกิดจิตสำนึกที่ดี รู้คุณค่าของทรัพยากร ตลอดจนมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการเพื่อการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาพลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนมาใช้เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นสามารถช่วยทำให้ธุรกิจการบินสามารถดำเนินการขนส่งได้อย่างมีคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ต่อไป</p>
ณัฏฐมน เผ่าพันธุ์
##submission.copyrightStatement##
2022-12-28
2022-12-28
19 1
-
พระมหาสมณวินิจฉัย
http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/2002
<p><strong>พระมหาสมณวินิจฉัย </strong></p> <p><strong>ผศ.ยอดชาย ชุติกาโม</strong></p>
ยอดชาย ชุติกาโม
##submission.copyrightStatement##
2023-02-23
2023-02-23
19 1