TY - JOUR AU - ธนะชาติ ปาลิยะเวทย์ PY - 2024/03/29 Y2 - 2024/03/29 TI - สารัตถะของ CPTPP : ข้อสังเกตทางกฎหมายเกี่ยวกับการขอเข้าร่วมเป็นภาคีของไทย JF - วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต JA - Suan Dusit Graduate School Academic Journal VL - 17 IS - 1 SE - บทความวิชาการ DO - UR - http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/916 AB - บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลพื้นฐาน ลักษณะทางกฎหมาย และกลไกของความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP)) และการวิเคราะห์ประเด็นทางกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการขอเข้าร่วมเจรจาเป็นภาคี CPTPP ของไทย ผู้เขียนวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารพบว่า มีข้อดีที่ชัดเจนหลายประการในการเข้าเป็นภาคีความตกลงพหุภาคีระดับภูมิภาค แต่มีข้อกังวลมากที่สุดในแง่ส่งผลกระทบหรือทำลายอุตสาหกรรมที่ยังไม่พร้อมเปิดตลาดให้กับต่างชาติและการปฏิบัติตามกฎกติกาใหม่ ไทยสามารถเป็นภาคีความตกลงหลายฉบับในเวลาเดียวกันได้ โดยข้อตกลงอื่นที่ไทยเป็นภาคีนั้นยังคงใช้บังคับต่อกันได้ เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายสำหรับไทยในกระบวนการภาคยานุวัติที่จะแสดงให้เห็นอย่างน้อยตาม 3 เกณฑ์มาตรฐานของ CPTPP หลายประเทศภาคีได้ทำความตกลงข้างเคียงกันไว้ในเรื่องเฉพาะแยกต่างหากจาก CPTPP แต่ประเทศที่ไม่ได้ร่วมทำความตกลงด้วยไม่อาจกล่าวอ้างหรือได้ประโยชน์ ภาครัฐของไทยจึงควรพิจารณามาตรการที่ไม่เป็นไปตามพันธกรณี หมายเหตุทั่วไป เงื่อนไขทดแทน และมาตรการช่วงเปลี่ยนผ่านไปกำหนดไว้ในข้อเสนอของไทยซึ่งต้องผ่านการเจรจาตามขั้นตอนกระบวนการต่อไป โดยจะเป็นประโยชน์อย่างน้อยก็ต่ออุตสาหกรรมที่ยังไม่พร้อมต่อการเปิดตลาด ควรวิเคราะห์ข้อมูลศึกษาวิจัยในแต่ละภาคอุตสาหกรรมและร่วมกันระดมสมองหาข้อสรุปเพื่อจัดทำข้อเสนอที่แสดงความพร้อมและศักยภาพของไทยอย่างน้อยตาม 3 เกณฑ์มาตรฐานให้สอดคล้องกับข้อตกลง CPTPP ทั้งที่มีอยู่เดิมและที่พัฒนาหรือสร้างขึ้นใหม่ อาจจัดการปัญหาความสับสนและการปฏิบัติไม่ถูกต้องเหมาะสมในการใช้บังคับที่ทับซ้อนหรือซับซ้อน เตรียมจัดทำความตกลงข้างเคียงกับประเทศภาคีที่มีความสำคัญในภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็น   ER -