TY - JOUR AU - ศิริมา สุวรรณศรี เอกอนงค์ ศรีสำอางค์ พรมมา PY - 2024/03/29 Y2 - 2024/03/29 TI - รูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงวัยขององค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี JF - วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต JA - Suan Dusit Graduate School Academic Journal VL - 16 IS - 2 SE - บทความวิจัย DO - UR - http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/754 AB - บทคัดย่อการศึกษาเรื่อง รูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงวัยขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และความต้องการในการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการผู้สูงวัยขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี 2) พัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการผู้สูงวัยขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี 3) นำเสนอรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงวัยต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยใช้เครื่องมือการวิจัยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย ทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากผู้สูงวัย จำนวน 297 คน และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 33 คน ข้อมูลที่ได้เชิงปริมาณทำการวิเคราะห์ โดยการหาค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการวิเคราะห์       One-way ANOVA ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์แบบอุปนัย และ          การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกและจัดระบบหมวดหมู่ข้อมูล มีผลการศึกษาดังนี้1) สภาพการณ์และความต้องการในการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการผู้สูงวัย พบว่า สวัสดิการที่ผู้สูงวัยได้รับอยู่ในระดับมาก ความต้องการด้านเครือข่ายเพื่อการพัฒนาสวัสดิการผู้สูงวัยอยู่ในระดับปานกลาง ผู้สูงวัยต้องการให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีการกำหนดนโยบาย และสนับสนุนงบประมาณด้านการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงวัย2) การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการผู้สูงวัย พบว่าควรมีการพัฒนาตามกรอบแนวคิดของทฤษฎีระบบ (System Theory)3) การนำเสนอรูปแบบการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงวัยต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการจัดทำคู่มือที่เน้นให้ผู้ปฏิบัติสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการดำเนินงานและตอบสนองความต้องการของผู้สูงวัย   ER -