TY - JOUR AU - ชำนาญ สวยค้าข้าว และบำรุง พาทยกุล PY - 2019/02/15 Y2 - 2024/03/29 TI - ความสำคัญและอัตลักษณ์ทางเดี่ยวระนาดทุ้ม เพลงทยอยเดี่ยวทางครูพินิจ ฉายสุวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ) JF - วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต JA - Suan Dusit Graduate School Academic Journal VL - 15 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/613 AB - วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและโครงสร้างของเพลงทยอยเดี่ยว และศึกษาความสำคัญและอัตลักษณ์ทางเดี่ยวระนาดทุ้มเพลงทยอยเดี่ยวทางครูพินิจ ฉายสุวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ) โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องศึกษาจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรีไทยและการเก็บข้อมูลภาคสนามผลการวิจัยพบว่าเพลงทยอยเดี่ยวเป็นเพลงที่พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) หรือครูมีแขก ประพันธ์ขึ้นสำหรับปี่ใน การสืบทอดเพลงทยอย ต้องมีการตั้งกำนล ธูปเทียนดอกไม้ โอกาสที่จะบรรเลงเพลงทยอยเดี่ยว ใช้สำหรับบรรเลงแก้เวลาประชัน หรือบรรเลงในงานไหว้ครูเป็นเพลงเดี่ยวชั้นสูงที่มีความสำคัญต่อวงการดนตรีไทยและหาฟัง     ได้ยาก โครงสร้างของเพลงทยอยเดี่ยว มีส่วนประกอบใหญ่ ๆ คือ อัตราจังหวะ 3 ชั้น กับอัตราจังหวะ 2 ชั้น มีกลุ่มเสียงทางใน คือ ซลท รม และทางนอกมีกลุ่มเสียง คือ ดรม ซล เป็นหลักในการสืบทอดทางเดี่ยวระนาดทุ้มเพลงทยอยเดี่ยวจากครูพินิจ ฉายสุวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ) จะต้องได้รับการพิจารณาคุณสมบัติ คือ ต้องเป็นผู้ที่ได้ต่อเพลงเดี่ยวพื้นฐานต่าง ๆ มาแล้วพอสมควรผ่านการต่อเพลงเดี่ยวกราวใน และเป็นผู้ที่มีความคล่องแคล่วในการบรรเลงระนาดทุ้มโดยมีกำนลเป็นจำนวนเงิน 106 บาท พร้อมดอกไม้ ธูป เทียน       ทางเดี่ยวระนาดทุ้ม เพลงทยอยเดี่ยวของครูพินิจ ฉายสุวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ) ในช่วงอัตราจังหวะ 3 ชั้น การดำเนินทำนองของทางเดี่ยวจะลงกับจังหวะฉิ่งและจังหวะหน้าทับ เรียกว่า “ฉายทำนอง” ส่วนอัตราจังหวะ 2 ชั้น ใช้สำนวนกลอนของทางระนาดเอกมาประดิษฐ์เป็นทางเดี่ยวระนาดทุ้ม เป็นแบบฉบับของครูพินิจ ฉายสุวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ)    ที่แตกต่างไปจากทางครูท่านอื่น ER -