TY - JOUR AU - นายชำนาญ แก้วสว่าง PY - 2018/09/01 Y2 - 2024/03/29 TI - เพลงและดนตรีที่ปรากฏในละครรำของพื้นที่จังหวัดอ่างทอง JF - วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต JA - Suan Dusit Graduate School Academic Journal VL - 14 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/552 AB - บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา รูปแบบของวงดนตรีและบทบาทของเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงละครรำในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตและข้อมูลภาคสนาม            ผลการวิจัยพบว่า ประวัติความเป็นมาของคณะละครรำ เป็นการแสดงของชาวบ้านที่มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ไม่มีการจดบันทึกข้อมูลไว้เป็นลายลักษณ์อักษรมีเพียงการสันนิษฐานว่ารูปแบบการแสดงในสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 3) ได้มีการอพยพกลุ่มละครชาตรีเข้ามาอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบางยี่นา กลุ่มป่าโมก และกลุ่มท่าช้าง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของละครรำในปัจจุบัน และมีการผสมผสานรูปแบบของการแสดงละครพันทาง ละครนอก และลิเก เข้ามาใช้ในการแสดงด้วย มีการว่าจ้างแม่ครูที่มีชื่อเสียงที่ได้รับการสืบทอดละครมาจากกลุ่มละครหลัก 3 กลุ่ม จากนั้นจะมีการสืบทอดกันภายในครอบครัว รูปแบบของวงดนตรีในสมัยก่อนใช้วงปี่พาทย์ชาตรี มาในปัจจุบันทั้ง 3 คณะ ได้ลดจำนวนเครื่องดนตรีลงเหลือเพียง 4 ชนิด ได้แก่ ระนาดเอก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง ใช้นักดนตรีบรรเลงเพียง 2-3 คน ส่วนบทบาทของเพลงที่ใช้ประกอบการแสดงละครรำทั้ง 3 คณะ แบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ และเพลงที่บรรเลงประกอบการขับร้อง ER -