TY - JOUR AU - ปริญญา เงินมูล PY - 2024/03/29 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่าง JF - วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต JA - Suan Dusit Graduate School Academic Journal VL - 18 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - http://www.graduate.dusit.ac.th/journal/index.php/sdujournal/article/view/1000 AB - การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อย 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลระหว่างข้อมูลส่วนบุคคลกับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อย 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลระหว่างพฤติกรรมผู้บริโภคกับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยและ 4) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับความจงรักภักดีตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ ไคสแควร์ และการทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติเชิงอนุมาน Chi-Square และการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยการคำนวณหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบจากกลุ่ม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้มีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างเนื่องจากไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอนโดยใช้สูตร W.G. Cochran (1953) มีค่าความคาดเคลื่อน 0.05 ได้แก่ ผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่าง จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยของผู้บริโภคในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่าง อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ข้อมูลส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยของผู้บริโภคในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) พฤติกรรมของผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยของผู้บริโภคในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคคล และด้านกระบวนการมีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีตราสินค้าเฉาก๊วยผึ้งน้อยของผู้บริโภคในเขตจังหวัดภาคกลางตอนล่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ER -