ปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ: กรณีศึกษา กรมเจ้าท่า

  • ธัญญารัตน์ สหศักดิ์กุล
  • กฤษณา วิสมิตะนันทน์
  • อรัญญา ศรียัพ
คำสำคัญ: การพัฒนาองค์กร, คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ, กรมเจ้าท่า

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกรมเจ้าท่า เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่องค์กรในการจัดลาดับความสาคัญในการวางแผนพัฒนาองค์กร ในการวิจัยครั้งนี้ใช้ข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิที่ผู้วิจัยได้ดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรส่วนกลางของกรมเจ้าท่า ประกอบด้วย ข้าราชการลูกจ้างประจา และพนักงานราชการ จานวน 262 คน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์และนำเสนอด้วยจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติ F และวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน โดยแบ่งออกเป็น 8ปัจจัย ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์องค์กร 2) รูปแบบการบริหารจัดการ 3) ระบบการปฏิบัติงาน 4) โครงสร้างองค์กร 5) บุคลากร 6) ทักษะ 7) ค่านิยมร่วมองค์กร 8) การเข้าใจผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับความสาเร็จในการพัฒนา คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกรมเจ้าท่าโดยรวม ทั้งหมด 5 ปัจจัย จากระดับค่าสัมประสิทธ์พยากรณ์มากไปน้อย ได้แก่ ระบบการปฏิบัติงาน การเข้าใจผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทักษะ ค่านิยมองค์กร และรูปแบบการบริหารจัดการ ตามลำดับ โดยทั้ง 5 ปัจจัยสามารถพยากรณ์ความสาเร็จในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของกรมเจ้าท่าโดยรวมได้ร้อยละ 68.7 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐของบุคลากรในองค์กรเป็นอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐขององค์กรมากที่สุด จากข้อมูลดังกล่าวจึงนาไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขอุปสรรคและพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของส่วนกลางกรมเจ้าท่า

เผยแพร่
01-09-2017