ประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลเพื่อการเล่าเรื่องผ่านภาพที่มีต่อแรงจูงใจของผู้เรียน และความสามารถด้านภาษาอังกฤษ

  • กิ่งกาญจน์ สุพรศิริสิน สมสิรี มนัส รัตนา เจงพิบูลพงศ์ และภัทรพร จันทมุณี มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ: สื่อดิจิทัลเพื่อการเล่าเรื่องภาพ แรงจูงใจ ทักษะภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้ของผู้เรียนในยุคนี้  ผู้สอนจึงควรมีความสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในกระบวนการสอนและการเรียนรู้ งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่เป็นที่นิยม และเริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2549 ที่ชื่อว่าไมโครซอฟเพื่อใช้ในการเล่าเรื่องผ่านภาพ (Microsoft Photo Story) วัตถุประสงค์ของงานชิ้นนี้คือ 1. เพื่อหาประสิทธิภาพของการเล่าเรื่องผ่านภาพด้วยสื่อดิจิทัลที่มีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ และการพัฒนาทักษะ  อีกทั้งเพื่อค้นหาความสนใจและแรงจูงใจของผู้เรียน    2. เพื่อศึกษาประโยชน์และอุปสรรคในการใช้งานของสื่อดิจิทัลเพื่อการเล่าเรื่องผ่านภาพ กลุ่มวิจัยในการศึกษาครั้งนี้คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จำนวน 32 คน สื่อดิจิทัลเพื่อการเล่าเรื่องผ่านภาพได้นำมาใช้กับการเรียนการสอน และออกแบบเพื่อใช้กับนักศึกษาที่เรียนภาษาอังกฤษใน 2 รายวิชา โดยนำเสนอเป็นรูปแบบของโครงงานในปลายภาคการศึกษาและนำเสนอในห้องเรียน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเพื่อสอบถามแรงจูงใจที่มีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษก่อนและหลัง การสัมภาษณ์เชิงกึ่งโครงสร้าง และการอภิปลายกลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่าแม้ว่าแรงจูงใจของนักศึกษาจะไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ แต่จากผลการสัมภาษณ์และอภิปลายกลุ่มย่อยได้สนับสนุนประสิทธิผลของการใช้งานสื่อดิจิทัลเพื่อการเล่าเรื่องผ่านภาพว่ามีประสิทธิภาพในเรื่องของการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของผู้เรียน อีกทั้งพบว่าผู้เรียนมีปัญหาการใช้งานทางเทคโนโลยีน้อย และมีความสนุกสนานในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านภาษาอังกฤษทั้งทางการพูดและการเขียนผ่านสื่อดิจิทัลที่ผสมผสานทั้งรูปภาพและคำไว้ด้วยกัน

เผยแพร่
29-03-2024