การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดความสุขในการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัย

  • พันชัย เม่นฉาย วิชญา ติยะพงษ์ประพันธ์ ปาริฉัตร ปิติสุทธิ และณัฐณิชา มีงาม สถาบันวิจัยและพัฒนา
คำสำคัญ: ความสุขในการทำงาน, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

บทคัดย่อ

ความสุขในการทำงานเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคลากรมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของตนได้อย่างเหมาะสมและเป็นการสนับสนุนให้บุคลากรมีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัย เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 10 ระดับ ตัวอย่างวิจัย คือ พนักงานมหาวิทยาลัยสวนดุสิตสายวิชาการ และสายสนับสนุน จำนวน 70 คน ผลการวิจัย พบว่า แบบสอบถามความสุขในการทำงานที่สร้างขึ้นมาประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 1) ด้านงานที่รับผิดชอบ 2) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน 3) ด้านภาวะผู้นำและวัฒนธรรมในองค์กร 4) ด้านค่าตอบแทน สวัสดิการ และความโปร่งใส 5) ด้านโอกาส และความก้าวหน้าในอาชีพ และ 6) ด้านการสื่อสารในองค์กร มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.600 – 1.000 มีค่าความเที่ยงของแต่ละองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.906 – 0.961 ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า โมเดลความสุขในการทำงานของบุคลากรมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-Square = 7.937, df = 4, p-value = 0.093 TLI = 0.968, SRMR = 0.018, RMSEA = 0.119

เผยแพร่
30-06-2019