การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับงานบริการที่สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้าง ความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านจังหวัดและกลุ่มจังหวัดปี 2561

  • ณัฏฐพันธ์ เขจรนันนท์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ชาติชาย มหาคีตะ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • องค์อร สงวนญาติ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • เฉลิมพล จินดาเรือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • อาภาศิริ สุวรรณานนท์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ณัฐรฐนนท์ กานต์รวีกุลธนา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คำสำคัญ: งานบริการ, ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืน, จังหวัดและกลุ่มจังหวัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับงานบริการที่สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับงานบริการที่สนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ในยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยว การเกษตร และการค้าการลงทุนรวมการค้าชายแดนในระบบการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ                  กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยประกอบด้วยประชาชนผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในกลุ่มเป้าหมายหน่วยงานภาครัฐจำนวนทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 2,000 ชุดในทุกจังหวัด จำนวน 76  และกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 77 จังหวัด ผลการวิจัยพบว่าความพร้อมต่อการให้บริการของภาครัฐ พบว่า ภาครัฐมีการแสดงขั้นตอนการให้บริการอย่างชัดเจน จำนวนร้อยละ 99.91 รองลงมาคือ ภาครัฐมีการให้บริการ ในช่วงพักกลางวัน จำนวนร้อยละ 99.83 และเจ้าหน้าที่สามารถให้บริการได้เบ็ดเสร็จทุกขั้นตอนในจุดเดียว จำนวนร้อยละ 87.81 การรับรู้เกี่ยวกับคู่มือประชาชน ประชาชนทราบเกี่ยวกับคู่มือประชาชนก่อนการรับบริการ คิดเป็นร้อยละ 89.22 ผ่านทางหน่วยงานราชการที่ยื่นคำขอ คิดเป็นร้อยละ 34.73 และทางช่องทางอิเลคทรอนิกส์ คิดเป็นร้อยละ 55.39 ประสบการณ์ที่ได้รับการบริการจากภาครัฐ พบว่า การระบุรายการเอกสารที่ต้องนำมายื่นอย่างจัดเจน จำนวนร้อยละ 99.59 รองลงมา คือ มีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่สะอาดและปลอดภัย จำนวนร้อยละ 98.85 และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอ จำนวนร้อยละ 87.74 ความพึงพอใจต่อการให้บริการของรัฐ ของประชาชนผู้เข้ารับบริการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า ความพึงพอใจด้านกระบวนการขั้นตอนในการให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ อยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการที่สนับสนุนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศในระดับพื้นที่ด้านการพัฒนางานบริการของจังหวัดที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ของประชาชนผู้รับบริการด้านการบริการ อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาปัจจัยแต่ละด้านพบว่าปัจจัยด้านองค์ความรู้ ระเบียบ และการปฏิบัติ อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม อยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง ปัจจัยด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ อยู่ในระดับเห็นด้วย และด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายความร่วมมือ  อยู่ในระดับเห็นด้วย

เผยแพร่
24-09-2020
ประเภท
บทความวิชาการ