การพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีแรงงานในศาลแรงงานกลาง

  • ทรงภพ ศรีโสภา เพ็ญศรี พัทธ์วิวัฒนศิริ และรุ่งนภา ตั้งจิตรเจริญกุล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คำสำคัญ: รูปแบบการไกล่ข้อพิพาท, ศาลแรงงานกลาง, คดีแรงงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีแรงงานในศาลแรงงานกลาง”               มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีแรงงานในศาลแรงงานกลางให้มีประสิทธิภาพ การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่ม                   รวมทั้งสิ้น 36 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง และผู้ประนีประนอมศาลแรงงานกลาง จำนวนทั้งสิ้น 218 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีแรงงานในศาลแรงงานกลาง โดยใช้ชื่อว่า PPS Model ประกอบด้วย 1. นโยบาย (Policy) นโยบายของผู้บริหารศาลต้องให้ความสำคัญกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการไกล่เกลี่ยควรคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่คู่ความจะได้รับ                ให้ใกล้เคียงกันในข้อกฎหมาย 2. กระบวนการ (Process) การบริหารจัดการในการไกล่เกลี่ยควรมีการวางบริหารจัดการให้ดี ให้ปริมาณคดีกับปริมาณผู้ไกล่เกลี่ยมีความเหมาะสม และการประชาสัมพันธ์ควรเป็นเชิงรุก 3. บุคลากร (Staff) ควรเพิ่มและใช้ศักยภาพของบุคลากรที่มีอยู่ให้เต็มที่ เต็มประสิทธิภาพ และบุคคลที่จะมาเป็นผู้บริหาร                  ศาลแรงงานกลางควรจะมีความรู้ทางด้านกิจการหลักของการไกล่เกลี่ย

เผยแพร่
15-02-2019
ประเภท
บทความวิจัย