องค์ประกอบปัจจัยความฉลาดในการแก้ไขอุปสรรคของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก

  • พิชชุดา น่วมนองบุญ และนพดล เจนอักษร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
คำสำคัญ: ความฉลาดในการแก้ไขอุปสรรค

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ (1) องค์ประกอบปัจจัยความฉลาด       ในการแก้ไขอุปสรรคของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก (2) เพื่อทราบความสัมพันธ์ขององค์ประกอบปัจจัยความฉลาดในการแก้ไขอุปสรรคของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก         การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องในการวิจัยในบริบทไทยและต่างชาติ การพัฒนาเครื่องมือวิจัยการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลา กลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย                (1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (2) กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก 29 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลแต่ละโรงเรียนมี 2 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายบริหาร ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 2 คน และฝ่ายปฏิบัติการ ได้แก่ ครูผู้สอน 4 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น    232 คน ใช้แบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การหาค่าความถี่และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบปัจจัยความฉลาดในการแก้ไขอุปสรรคของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียน   เฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบคือ (1) แรงผลักดันที่ส่งเสริมความฉลาดในการแก้ไขอุปสรรค(2) ความสำเร็จทางวิชาการ (3) การรับรู้ความสามารถของตน(4) การฟื้นตัวจากการเผชิญอุปสรรค            (5) การเรียนรู้ (6) การมองโลกในแง่ดี(7) นวัตกรรม และ (8) การกำกับตนเอง

  1. องค์ประกอบปัจจัยความฉลาดในการแก้ไขอุปสรรคของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ รัชมังคลาภิเษก แบ่งเป็นด้านปัจจัยภายใน ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตน, การฟื้นตัวจากการเผชิญอุปสรรค, การเรียนรู้, การมองโลกในแง่ดี, และการกำกับตนเองด้านปัจจัยภายนอก ได้แก่ แรงผลักดันที่ส่งเสริมความฉลาด      ในการแก้ไขอุปสรรค, ความสำเร็จทางวิชาการ, และนวัตกรรม องค์ประกอบปัจจัยด้านปัจจัยภายในและด้านปัจจัยภายนอก มีความสัมพันธ์กันสูง และมีทิศทางไปในทิศทางเดียวกัน
เผยแพร่
15-02-2019
ประเภท
บทความวิจัย