กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะทนายความต่อการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย

  • นายไพบูลย์ ตั้งธนะวัฒน์
คำสำคัญ: คุณลักษณะทนายความ กลยุทธ์ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การคัดสรรบุคคล การปลูกฝังจริยธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของทนายความต่อการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของประเทศไทย และเพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะทนายความไทยเมื่อประเทศไทยเข้าร่วมในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง

ผลการวิจัย พบว่า

  1. 1. ด้านการคัดสรรบุคคลเข้ามาประกอบวิชาชีพทนายความ การคัดสรรบุคคลที่จะเข้ามาเป็นทนายความ ต้องมีขั้นตอนที่สามารถคัดสรรคนที่มีความรู้ ความสามารถ อย่างแท้จริง ให้เข้ามาทำหน้าที่ทนายความ ควรมีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยในประเทศทุกแห่ง เพื่อผลิตบัณฑิตนิติศาสตร์ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สังคมและกระบวนการยุติธรรมต้องการและมีมาตรฐานเดียวกัน
  2. 2. ด้านการปลูกฝังจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ ได้แก่ การออกกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดต่อวิชาชีพ เพื่อเป็นหลักประกันว่าการประกอบอาชีพทนายความนั้นเป็นไปโดยสุจริตมีจรรยาบรรณ
  3. 3. ด้านการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่องให้รอบรู้ด้านกฎหมาย ภาษา และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี ทนายความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาการศึกษาวิชากฎหมายและการให้บริการทางวิชาชีพกฎหมายให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และการวางระบบและแนวคิดในการปรับบทบาทของนักกฎหมายในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

               จากการวิเคราะห์ผลการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้จัดทำโมเดลการพัฒนา คือ Specs โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้ Lawyer Selection การคัดสรรบุคคล Professional code of Ethics การปลูกฝังจริยธรรม และ Continued learning Skill พัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่
01-09-2018