ยุทธศาสตร์การปฏิรูปด้านแรงงานและภาวะผู้นำแบบเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นแนวสันติของภาคแรงงานไทย ศึกษาเฉพาะกรณี : การรณรงค์ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

  • สุกิจ กลิ่นหอม
คำสำคัญ: -

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์หลักในการทำดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์การปฏิรูปด้านแรงงานและภาวะผู้นำแบบเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นแนวสันติของภาคแรงงานไทย ศึกษาเฉพาะกรณีการรณรงค์ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) ปี 2553” ครั้งนี้ เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การปฏิรูปด้านแรงงานของผู้นำสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) และเครือข่ายของ สร.กฟผ. ในความพยายามเสรมิสรา้งความเป็นปึกแผ่น แนวสันติของภาคแรงงานและการรณรงค์ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยได้นำประเด็นภาวะผู้นำแบบเครือข่ายของ สร.กฟผ. กับยุทธศาสตร์การรณรงค์ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจมาดำเนินการวิเคราะห์ตามหลักวิชาการอย่างครอบคลุมทุกบริบท ผลการวิจัยพบว่า ในกลุ่มผู้นำด้านเครือข่ายของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง   ประเทศไทย (สร.กฟผ.) และเครือข่ายสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ของประเทศไทย ส่วนใหญ่จะใช้การรณรงค์ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของยุทธศาสตร์การปฏิรูปด้านแรงงาน  โดยวิธีผสมผสานทั้งยุทธศาสตร์ในเชิงรุก พร้อมทั้งเชิงรับแบบการทูต กล่าวโดยสรุป ภาวะผู้นำแบบเครือข่ายของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) และกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนในอนาคตมีแนวโน้มจะประสบชัยชนะเหนือเป้าหมาย ในการสร้างความเป็นปึกแผ่นแนวสันติและจะประสบความสำเร็จในการรณรงค์ต่อต้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจได้ โดยอาศัยการปรับกระบวนการจากความต้องการเดิม ๆ ที่มุ่งเน้นเฉพาะด้านความต้องการของกลุ่มเครือข่าย สมาชิก ไปสู่การขยายการรณรงค์เพื่อมุ่งเน้นความต้องการของภาคประชาชนและสังคมส่วนใหญ่ และการมุ่งอุทิศตนเพื่อผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ ที่จะทำให้พวกเขามีความภาคภูมิใจและชนะจิตใจของประชาชนในสังคมได้อย่างท่วมท้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงขอนำเสนอรูปแบบ (Model) ที่สรุปได้จากภาพรวมของงานวิจัย ดังนี้  จาก “ยุทธศาสตร์การต่อสู้แบบกระทิงทรนง”  สู่ “ยุทธศาสตร์การต่อสู้แบบปลาโลมาผู้สง่างาม”

เผยแพร่
01-05-2014
ประเภท
บทความวิชาการ