กระบวนทัศน์การพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย

  • พัชราวรรณ เจริญพันธุ์
คำสำคัญ: กระบวนทัศน์การพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น บรรหาร ศิลปอาชา สัจจะและกตัญญู

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบกระบวนทัศน์การพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย เป็นที่มีการรวบรวมข้อมูลโดยพหุวิธี และครอบคลุมเรื่องการศึกษาประวัติชีวิต การวิเคราะห์เอกสาร การศึกษาหลักฐานหรือข้อมูล ที่มีอยู่ตามสภาพ ปกติการสังเกตแบบ มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์แบบสร้างข้อสรุป แล้วนำเสนอโดยวิธีพรรณนา และพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนทัศน์การพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย มีการพัฒนามาเป็นลำดับอันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ตลอดชีวิต การทำงานของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา โดยประสบการณ์ดังกล่าวนั้นมาจาก 1) บรรยากาศและบริบท การบริหารงานทางการเมืองในระดับประเทศตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน และ 2) มีองค์ประกอบที่สำคัญ รวม 4 ประการคือ ความรู้ความสามารถ ความประพฤติ บุคลิกภาพและคุณสมบัติส่วนตัว สำหรับกระบวนทัศน์การพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นมาจากกระบวนทศันท์ทุกประเภทของกรณศึกษาจะกระทำอย่างแนบเนียนและเหมาะสมกับกาลเทศะเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยในกรอบแนวคิดเพื่อประกอบการศึกษาภายใต้แนวคิดของโทมัส เอส คูหน์ และเฮอร์เซย์ และบลันชาร์ด ซึ่งพบว่ากระบวนทัศน์การพัฒนาการศึกษาท้องถิ่นของ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทยประกอบด้วย 1) การพัฒนาบุคลากร 2) การพัฒนาสาธารณประโยชน์ขั้นพื้นฐาน 3) การเลือกบุคลากรที่เหมาะสมมาทำงาน 4) การควบคุม กำกับ ติดตาม และ 5) การกำกับติดตามงาน ซึ่งกระบวนทัศน์ดังกล่าว ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ได้ยึดถือและปฏิบัติภายใต้ หลักคุณธรรม “สัจจะ และกตัญญู” จนมีผลงานเป็นที่ยอมรับนับถือและเป็นแบบอย่างให้กับนักการเมืองท่านอื่น ได้เป็นแนวทางนำไปปฏิบัติ

เผยแพร่
01-05-2017
ประเภท
บทความวิชาการ