ประชากรแฝงกับคุณภาพชีวิต กรณีศึกษา เทศบาลเมืองรังสิต

  • นายสราวุธ กลิ่นกุสุม
คำสำคัญ: -

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงผสมผสาน โดยดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและ               การสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชากรแฝง ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบของประชากรแฝงที่มีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองรังสิต มีดังนี้ 1) การใช้บริการโดยมิได้มีส่วนร่วมในการจัดทำบริการสาธารณะ หรือสาธารณูปโภคต่าง ๆ 2) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 3) ปัญหาด้านแรงงาน การแย่งงานทำ และการแย่งที่อยู่อาศัย 4) ปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่เกิดจากการได้รับความเครียดสะสม 5) การจัดงบประมาณไม่สอดคล้องกับความต้องการ และความจำเป็นเร่งด่วน และ  6) ปัญหามลภาวะ มลพิษในเขตชุมชน เขตที่อยู่อาศัย และแนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรแฝงในเขตเทศบาลเมืองรังสิต คือ แนวทาง “NICE DAY” ประกอบด้วย การประเมินความต้องการของประชากรแฝง (Need Assessment) การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ใช้ความคิด/ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยตนเอง (Intellectual Life) การพัฒนาชุมชนที่อยู่อาศัย และสภาพแวดล้อมโดยรอบ (Community Development) การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับประชากรแฝง (Exploratory Non-registered Population) การบริหารงานเพื่อการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพ (Development Administration) การมีส่วนร่วมสัมพันธ์กันในลักษณะเครือข่าย (Associate with Network) การจัดทำแผนงานประจำปี การสร้างวงจรการติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินผล (Yearly Planning Cycle)

เผยแพร่
01-01-2016
ประเภท
บทความวิจัย