สถานีดับเพลิงและกู้ภัย กรุงเทพมหานคร

  • กันต์ธสิทธิ์ พิมพ์สอาด คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • กีรติ ศรีประไหม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • อจิรา เที่ยงตรง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
คำสำคัญ: สถานีดับเพลิงและกู้ภัย, เกณฑ์มาตรฐานนักดับเพลิง, เกณฑ์มาตรฐานสถานีดับเพลิงและกู้ภัย

บทคัดย่อ

สถานีดับเพลิงและกู้ภัยเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ ขณะเกิดเหตุและภายหลังเกิดเหตุ เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปฏิบัติการป้องกันและระงับอัคคีภัย กำหนดมาตรการในการป้องกันและระงับอัคคีภัย และบรรเทาสาธารณภัยอื่น ๆ ทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานในการปฏิบัติงานของสถานีดับเพลิงและกู้ภัย โดยแบ่งออกเป็น เกณฑ์มาตรฐานนักดับเพลิงต่อจำนวนประชากร (1 คน : 552 คน) และเกณฑ์มาตรฐานสถานีดับเพลิงและกู้ภัยต่อพื้นที่รับผิดชอบ (1 สถานี : 15 ตารางกิโลเมตร) และ 2) วิเคราะห์จำนวนสถานีดับเพลิงและกู้ภัยและจำนวนนักดับเพลิงที่เหมาะสมของกรุงเทพมหานครตามเกณฑ์มาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า 1) กรุงเทพมหานครมีนักดับเพลิง 1 คน ต่อประชากร 3,042 คน มีสถานีดับเพลิงและกู้ภัย 1 สถานี รับผิดชอบพื้นที่ประมาณ 104 ตารางกิโลเมตร และ 2) กรุงเทพมหานครควรมีสถานีดับเพลิงและกู้ภัย จำนวนไม่น้อยกว่า 110 สถานี ซึ่งในปัจจุบันมีสถานีดับเพลิงและกู้ภัย จำนวน 47 สถานี และกรุงเทพมหานครควรมีนักดับเพลิง จำนวน 10,123 คน แต่ปัจจุบันมีนักดับเพลิงเพียงแค่ 1,837 คน

เผยแพร่
01-05-2023
ประเภท
บทความวิชาการ